Wednesday, 12 July 2017

#JRSKY #บทความจากรุ่นนี้สู่รุ่นต่อไป #SkyExits " เราให้นักศึกษาฝึกงานทุกคนทำงานเหมือนเป็นพนักงานของที่นี่ " นี่คือคำพูดที่พี่ต้อยบอกเราในวันที่สัมภาษณ์ เราเก็บความสงสัยนี้มาตลอดจนกระทั่งเรามาฝึกงาน

บทความจากรุ่นนี้สู่รุ่นต่อไป 

ชื่อ: พิมพ์ชนก เรืองรุ่ง(JR.PIM) 

นักศึกษางาน จากมหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2558 

ฝึกงานตำแหน่ง CASTING 

ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2559 – 31 มีนาคม 2559 


" เราให้นักศึกษาฝึกงานทุกคนทำงานเหมือนเป็นพนักงานของที่นี่ "

นี่คือคำพูดที่พี่ต้อยบอกเราในวันที่สัมภาษณ์ เราเก็บความสงสัยนี้มาตลอดจนกระทั่งเรามาฝึกงาน วันแรกที่มา เราก็เจอแจ็คพ็อตเลยทันที คือ วันนั้นมีการถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาตัวหนึ่ง เราได้เข้าไปช่วยดูแลนักแสดงในฐานะที่ฝึกงานในแผนก Casting แต่มันก็ไม่สวยหรูอย่างที่คิดเอาไว้ ...

เราถูกพี่เลี้ยงตำหนิในวันแรกที่เราทำงาน พอกลับบ้านไปเรารู้สึกเสียใจมากที่วันแรก เราก็ทำตัวแย่ แต่มันเหมือนมีอีกความคิดหนึ่งที่พุ่งขึ้นมาให้เราฮึดสู้ว่า

" เราจะไม่ทำให้ใครตำหนิเราอีกได้ " 

หลังจากวันนั้นเราก็เริ่มปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และเรียนรู้งานอย่างเต็มที่ เมื่อมีโอกาสอะไร เราก็พยายามคว้ามันให้หมด เพราะเราเชื่อว่าการปฏิเสธคนเท่ากับการปฏิเสธโอกาสของตัวเอง พี่ๆ ทุกคนเปิดโอกาสให้เราได้ทำงานแบบพนักงานจริงๆ และสอนงานเราแบบไม่มีกั๊ก

เราได้ทำในสิ่งที่เราไม่เคยทำ เช่น เราได้ COACH นักแสดงที่มา TEST งาน เรารู้สึกว่าพี่ๆ CASTING เขาไว้ใจเรา และเมื่อเสร็จสิ้น พี่ๆ ก็จะบอกข้อดี ข้อเสียและสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้งานในครั้งต่อไปมันดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้เรายังได้รับโอกาสเป็น STAND IN ในหลายๆ งาน เราคิดว่ามันเป็นงานที่น่าภูมิใจนะ เพราะมันช่วยให้นักแสดงของเรามีเวลาโฟกัสกับบทที่เขาจะเล่น เวลาที่เราอยู่ตรงตำแหน่ง BLOCK SHOT แล้วมองไปที่ทีมงานทุกคน เราเห็นถึงความมุ่งมั่นที่ผ่านทางแววตา แล้วเราก็พูดกับตัวเองว่า

" พี่ๆ เขาเหนื่อยกว่าเรามามาก เรายืนแค่นี้ เราจะเหนื่อยไม่ได้นะ " 

แล้วหลังจากนั้น ไม่ว่าเราจะทำงานไหน เราก็ทุ่มให้เต็มที่ ให้สมกับที่พี่ๆ ทุกคนวางใจให้เราทำ ขอบคุณพี่ๆ ทุกคนในสกายที่ทำให้ระยะเวลาเกือบ 3 เดือน ของหนูเป็นช่วงเวลาที่ดี หนูเคยอ่านบทความของพี่ๆ รุ่นก่อนมาว่า ...

ที่นี่ไม่ใช่บริษัท แต่ที่นี่เปรียบเสมือนบ้าน ตอนนี้หนูได้พิสูจน์มันแล้ว และหนูก็ขอรับรองว่า คำพูดของพี่ฝึกงานรุ่นก่อนเป็นจริงทุกประการ

นอกจากนี้แล้ว การฝึกงานที่สกายก็สอนให้รู้ว่า ความรู้จากห้องเรียนใช่ว่าจะไม่สำคัญ แต่ความรู้และประสบการณ์จากการทำงาน จะสอนให้เราก้าวเดินไปตามเส้นทางที่เราต้องการได้...ถ้าคุณไม่เชื่อ เราท้าให้คุณพิสูจน์ ...

A work-life balance is more than picking kids up from school

“I can’t believe it.” The floor started to slip away. Or perhaps it was just me, reaching out for the flat, cold lino-coated walls of the hallway as I heard the voice of the human resources manager at a prominent Melbourne gallery, telling me, not that I hadn’t got the job, but that my application had simply never arrived.

I had done everything right. I spent a few days on the application. I tailored my experience and chose my sentence structures to compel the reader into the firm belief - which I personally held - that I was their ideal gallery attendant and, what’s more, that the job was perfect for me. I could remember how, in a daze, I had found out about the job at all.

I was at work, permitting myself a dangerous, five-minute collision of worlds. I was sitting at my desk, with its teal coloured pinboard walls and piles of project contracts squaring me in, daydreaming, when I saw an ad for part-time gallery attendants on a website of an exhibition. In a secret corner where my dreams give off slight heat, being held, as they are, so close to my skin, I knew it was meant to be. (Although that heat might also be have been the hot water bottle I’ve taken to since I moved into my draughty apartment in Melbourne after making the big work-life change from professional public servant to wannabe video artist.)

Having done everything right, however, was not enough to overcome the dangers of entrusting my job application to e-mail. But it wasn’t so much the way in which technology had thwarted my chances at my ideal work-life balance that was causing me so much lino-slipping dizziness. It was that in the three seconds it took to read a job advertisement heading and picture myself in the life I always knew was meant to be, I had convinced myself this was possible. It was the loss of the dream of part-time work-life balance, the loss of the ideal.

In search of a positive in the entire experience (the lesson, “don’t rely on e-mail”, not being remotely adequate to give meaning to such devastation), I started thinking about what the real crux of my grief was. The news was not so personally shattering as finding out something terrible had happened to a member of my family. Nor was it as heinous as the 2006 Budget announcements to “help” the disabled and “boost” the economy with tax cuts for the wealthy. Yet, it had completely gutted me. Why?

The work-life balance is more than just a pragmatic approach to hours in the day: that’s why. I wanted that job because I thought it was the ideal part-time complement to my full-time studies. I had quit my public service job where I felt safe, smart, and well regarded - and hopelessly, terribly dead - and moved to Melbourne to study video art, where, tentatively, quietly, once every few months, I could call myself - just to myself - an artist. I could potentially keep supporting myself as a part-time public servant, as I had been doing for the last couple of months, and earn more than in the dream gallery job. Technically, this would satisfy the hours-in-the-day understanding of work-life balance. And I would have enough money and enough time to do the “life” stuff - the art.

But it still would not have been "enough."

A central problem in achieving a good work-life balance is that it is very hard to find part-time work that is fulfilling and rewarding in the same way that full-time work is. Bertrand Russell noted the centrality of meaningful work to happiness in his book The Conquest of Happiness, and philosophers and social scientists before and after him have all reached the same conclusion: meaningful work is a critical ingredient of feeling satisfied with life. The idea of the work-life balance is more than just getting the pieces of the puzzle to fit together. It’s what you tell yourself about the way it is meant to be. It is about the idea of yourself that makes you happy.

How then to find work which balances with life in more ways than simply providing enough money and time to live? I wanted that gallery job so badly because it would have done more than provided enough money and time to support my other pursuits. It would also have made me feel good about myself, the way that full-time work has, for hundreds of years, been recognised as central to making people feel good about themselves.

This is where the current public policies around work-life balance seem to miss the mark. In Australian policy-making there is a rather crude understanding of the work-life balance as simply providing enough childcare places and enough flexibility in work hours to allow parents to pick up school-age children and take them to football practice, or to care for an elderly relative at home. Work-life balance is achieved through family policy, employment policy, and aged-care policy. It’s not about helping people to achieve a sense of identity, or to ensure they are able to pursue creative endeavours alongside their jobs. It's not about encouraging people to take up yoga or visit their friends more. And it’s not about helping people make sure their jobs are making them happy.

I am inclined, these days, to try to operate as much as possible as if Australian politicians did not exist. Their policies rarely help me. I figure it is up to me, in the true, individualistic spirit of the times, to forget about politicians and to make sure that in my own life, I interpret work-life balance more broadly than my politicians do.

Some of us are lucky enough to have part-time work at all, as a first step towards a fulfilling work-life balance. (Despite my whingeing about how unfulfilled my part-time work makes me, I recognise how singularly blessed I am, in spite of my government’s narrow interpretation of work-life balance, to have flexible work hours - especially for reasons totally unrelated to having children or aged relatives.) The next step in making this work-life balance “work” is making sure that part-time work is still rewarding; still contributes to our sense of self - rather than detracts from it - and still fulfils its role as one of the key ingredients of happiness.

I didn’t get the dream gallery job. But it doesn't mean it's time to go back to working at a desk with teal coloured pinboard walls and piles of project contracts squaring me in either.


#JRSKY #บทความจากรุ่นนี้สู่รุ่นต่อไป : ได้มีโอกาสลองทำเทสแบบตัวแสดง ในส่วนของวันออกกองก็ให้ลองบรีฟนักแสดง รันคิวเอ็กซ์ตร้า ฝึกการเป็นแอคติ้งโค้ช และได้รับโอกาสจากพี่ๆ ให้ได้ลองแคสงานเป็นตัวแสดงเองทั้งงาน

บทความจากรุ่นนี้สู่รุ่นต่อไป 

ชื่อ/Name : นางสาวบัณฑิตา หลงรัก (JR.JAN) 

นิสิตฝึกงานจากมหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2558 

ฝึกงานตำแหน่ง : Casting 

ฝึกช่วงเวลา : 18 มกราคม 2559 – 31 มีนาคม 2559

จุดเริ่มต้นที่ได้มาฝึกงานที่ บริษัทสกายเอ็กซิทส์ เริ่มจากค้นหาตนเองก่อนว่าอยากทำอะไรถ้ามีโอกาสใช้เวลา 3-4 เดือน ในการฝึกงานเพื่อเก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์ ความรู้ไปใช้ต่อในอนาคต จนสุดท้ายได้คำตอบกับตัวเองว่า อยากใช้สิ่งที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์กับการทำงานให้มากที่สุด นั่นคือ “ศิลปะการแสดง”

แต่งานโฆษณาก็เป็นอีกหนึ่งสายอาชีพที่เราสนใจและอยากที่จะลองทำ จึงได้พยายามหาข้อมูลตำแหน่งงานที่มีความใกล้เคียงกับสิ่งที่อยากทำให้มากที่สุด จนได้พบข้อมูลการรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในตำแหน่ง Casting ของบริษัทสกายเอ็กซิทส์ จึงได้เริ่มหาข้อมูลการทำงานของบริษัทจากอินเตอร์เน็ต ได้พบประวัติการทำงาน รูปภาพงานโฆษณาต่างๆ ของบริษัท และได้หาข้อมูลลักษณะการทำงานของตำแหน่ง Casting เพิ่มเติ่ม

การที่หาข้อมูลต่างๆ ก่อนตัดสินใจสมัคร เพราะคิดว่าครั้งหนึ่งในชีวิตที่จะได้มีโอกาสฝึกงาน ก็อยากให้ตนเองได้ประสบการณ์อะไรที่มันมากกว่าชีวิตในวัยเรียนให้มากที่สุด จนสุดท้ายตัดสินใจสมัครฝึกงานกับบริษัทสกายเอ็กซิทส์ และได้รับโอกาสให้เข้าฝึกงานกับทางบริษัทในที่สุด การฝึกงานกับที่นี่ในระยะเวลา 3 เดือนตอนแรกเลยคิดว่าเป็นเรื่องยากในการที่เราจะเข้ามาเริ่มต้นใหม่ในสถานที่ที่หนึ่ง ทั้งเรื่องสังคมในการทำงาน เพื่อนร่วมงาน ระบบการทำงานที่มีความเป็นมืออาชีพ หรือแม้แต่งานภายในตำแหน่งที่จะได้รับมอบหมาย ทุกอย่างมันคือใหม่หมดสำหรับเรา

สิ่งที่จำเป็นที่สุดในตอนนั้นคือการปรับตัวภายในระยะเวลาที่เรามีอยู่เพียงไม่กี่เดือนให้ได้เร็วที่สุด ซึ่งสิ่งที่เรามีต้นทุนมาจากชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยคือ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การเข้าสังคมเป็น การทำงานร่วมกับคนจำนวนมาก มีความอดทน นอบน้อม เคารพและยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับคนที่นี่และเพื่อนๆ ฝึกงานได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่ต้องเร่งปรับตัวคือการพัฒนาการทำงานของตนเองในแผนก Casting

โชคดีที่ได้มีโอกาสเข้ามาฝึกงานในช่วงที่ทางบริษัทมีงานโฆษณาเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ได้ฝึกทำงานจริงๆ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือสิ่งที่พี่ๆ ในแผนกคอยสอน แต่สิ่งที่เราได้เก็บเกี่ยวไว้เป็นประสบการณ์คือการที่ได้สังเกตการทำงานของพี่ๆ และเริ่มลองทำ

ตั้งแต่การประชุมงาน ติดต่อหาตัวแสดง ทำสกรีนเทสคัดเลือกตัวแสดง และการทำงานในวันถ่ายทำจริง ในช่วงแรกของการทำงานพี่ๆ จะให้คอยช่วยทำโน้นทำนี่เล็กๆ น้อยๆ และช่วงหลังก็ให้ลองฝึกทำด้วยตัวเอง ได้มีโอกาสลองทำเทสแบบตัวแสดง ในส่วนของวันออกกองก็ให้ลองบรีฟนักแสดง รันคิวเอ็กซ์ตร้า ฝึกการเป็นแอคติ้งโค้ช และได้รับโอกาสจากพี่ๆ ให้ได้ลองแคสงานเป็นตัวแสดงเองทั้งงาน เซปเป้บิ้วตี้ดริ๊งค์ เทสโก้โลตัส และได้มีโอกาสได้เป็นเอ็กซ์ตร้าในอีกหลายๆ งานทั้ง งานเครื่องดื่มเอส ฮอนด้าสกู๊ปปี้ไอเอไอเอ 

ก็ถือเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์การทำงานที่ดี “สิ่งที่ทำให้เรามีกำลังใจคือคำชม แต่สิ่งที่จะทำให้เราพัฒนาตนเองคือคำติ” 

การที่ได้มีโอกาสทำงานกับคนเก่งๆ และมีประสบการณ์ในการทำงาน ถือเป็นเรื่องที่โชคดีมาก เพราะทำให้เราสามารถมองเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานได้ดีมากๆ ไม่ใช่แค่การทำงานในแผนกของตนเอง แต่การที่ได้เห็นการทำงานของแผนกอื่นๆ ก็ทำให้ได้เรียนรู้และเห็นแบบอย่างในการทำงานอีกเหมือนกัน

ขอบคุณพี่ๆ ทุกคน ที่คอยสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และขอบคุณโอกาสดีๆ ที่ทำให้ได้เข้ามาฝึกงานกับบริษัทสกายเอ็กซิทส์ การได้ฝึกงานที่นี่ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง ได้ประสบการณ์ในการทำงานอย่างมืออาชีพและได้เติบโตขึ้นพร้อมที่จะทำงานต่อไปในวันข้างหน้า ขอบคุณมากๆ ค่ะ